Image

คำกริยา [ภาษาญี่ปุ่น]

July 10, 2020

คำกริยา

เป็นคำอิสระที่สามารถผันได้ สามารถใช้เป็นคำแสดง(述語 : jutsugo)ในประโยค เพื่อบอกเล่าการกระทำ อาการ หรือการมีอยู่

คำกริยาในสถานะปกติ จะลงท้ายด้วยเสียง 「ウ : u」 เสมอ เช่น

笑う : warau : หัวเราะ
書く : kaku : เขียน
寝る : neru : นอน

ชนิดและหน้าที่ของคำกริยา

1. อกรรมกริยา ( 自動詞 : jidoushi )
เป็นคำแสดงกริยาหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดผลอยู่ประธานเท่านั้น ไม่ได้ส่งผลบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่น ดังนั้น ในประโยคจึงจะไม่มีคำช่วย 「を」 ที่เป็นคำช่วยที่ชี้กรรมของประโยค ตัวอย่างเช่น
雨が降る : ame ga furu : ฝนตก
花が咲く : hana ga saku : ดอกไม้บาน

2. สกรรมกริยา ( 他動詞 : tadoushi )
เป็นคำแสดงกริยาที่ไม่ได้ส่งผลไปยังประธาน แต่ผลของกริยาหรือการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดกับบุคคลอื่นหรือสิ่งอื่นโดยตรง หรือเป็นการทำหรือสร้างให้เกิดขึ้น ตามปกติจะใช้คำช่วย 「を」เพื่อชี้ว่าผลของกริยานั้นเกิดขึ้นกับบุคคลหรือสิ่งของใด เช่น
本を読む : hon o yomu : อ่านหนังสือ
窓を開ける : mado o akeru : เปิดหน้าต่าง

3. กริยาแสดงความเป็นไปได้ ( 可能動詞 : kanoudoushi)
เป็นคำกริยาที่ผันรูปเพื่อแสดงความหมายว่าสามารถทำ … ได้ โดยคำกริยาที่จะผันเช่นนี้ได้ จะต้องเป็นคำกริยาในกลุ่มที่ 1 เท่านั้น ซึ่งเมื่อผันเสร็จแล้ว คำกริยาที่เกิดขึ้นใหม่จะจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 เช่น
動く : ugoku : เคลื่อนที่ → 動ける : ugokeru : เคลื่อนที่ได้
聞く : kiku : ฟัง → 聞ける : kikeru : ฟังได้

4. กริยาสนับสนุน ( 補助動詞 : hojo doushi หรือ 形式動詞 : keishiki doushi )
มีความหมายของคำเดิมเหลืออยู่น้อยมาก ใช้เป็นเพียงคำเสริมในประโยคเท่านั้น ใช้ร่วมกับคำว่า ~て หรือ ~で เช่น
私は日本人である : watashi wa nihonjin de aru : ฉันเป็นคนญี่ปุ่น
※ ある เป็นคำกริยาแปลว่า มี ซึ่งไม่เหลือความหมายเดิมอยู่ในประโยค
風が吹いている : kaze ga fuite iru : ลมกำลังพัด
※ いる เป็นคำกริยาแปลว่า อยู่ ซึ่งไม่เหลือความหมายเดิมอยู่ในประโยค

นอกจากนี้ คำกริยาบางคำจะใช้แสดงความหมายเพื่อยืนยัน หรือแสดงท่าที หรือแสดงความมุ่งมั่นในทำกริยานั้น เช่น
ある、いく、いる、おく、くる、みる、もらう

ยกตัวอย่างเช่น
勉強をしておく : benkyou o shite oku : จะเรียนไว้
勉強してみる : benkyou shite miru : จะลองเรียนดู

ที่มา : http://www.j-campus.com/grammar/?chapter=3


แล้วพบกันใหม่บทความหน้า สำหรับท่านใดสนใจที่จะพัฒนาทักษะทางด้านภาษาของตัวเอง UBON Academy ของเรามีคอร์สภาษายินดีคอยให้บริการทุกท่านนะคะ

หมายเลขโทรศัพท์ : 081-399-2240
Email : [email protected]



Read More

Image
July 9, 2020

คำนาม [ภาษาญี่ปุ่น]

Image
July 9, 2020

คำศัพท์ห้องต่างๆ ภายในบ้าน [ภาษาญี่ปุ่น]

Image
July 8, 2020

วันสำคัญของประเทศญี่ปุ่น