วันนี้จะพาน้องมาเรียนคณิตศาสตร์เกี่ยวกับสมบัติของการคูณ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนโจทย์ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเกิดจากการคูณจำนวนสองจำนวนเข้าด้วยกัน ผลคูณที่ได้เท่ากัน
เราไปเรียนรู้สมบัติเหล่านี้พร้อมๆกันเลยค่ะ
>>สมบัติการสลับที่ของการคูณ
ถ้า a และ b เป็นจำนวนเต็มบวกใด ๆ แล้ว axb = bxa
เช่น 4×8 = 8×4 = 32
25×10 = 10×25 = 250
* จำนวนสองจำนวนที่นำมาคูณกัน สามารถสลับที่กันได้โดยผลบวกยังคงเดิม
สมบัติเช่นนี้ เรียกว่า สมบัติการสลับที่ของการคูณ
>>สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ
ถ้า a,b และ c เป็นจำนวนใด ๆ แล้ว ax(bxc)=(axb)xc
เช่น 8x(6×4) = 8×24 =192
(8×6)x4 = 48×4 =192
* จำนวนสามจำนวนที่นำมาคูณกัน จะคูณจำนวนที่หนึ่งกับจำนวนที่สอง หรือคูณจำนวนที่สองกับจำนวนที่สามกัน
แล้วจึงคูณกับจำนวที่เหลือ ผลคคูณย่อมเท่ากัน สมบัติเช่นนี้ เรียกว่า สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ
>>สมบัติการแจกแจง
ถ้า a,b และ c เป็นจำนวนใด ๆ แล้ว
ax(b+c) = (axb)+(axc)
(b+c)xa = (bxa)+(bxc)
เช่น 3x(5+6) = (3×5)+(3×6 ) = 33
(4+9)x5 = (4×5)+(9×5) = 20+45 = 65
* การคูณจำนวนที่หนึ่งกับผลบวกของจำนวนที่สองและจำนวนที่สาม จะได้ผลลัพธ์เท่ากับผลคูณของจำนวนที่หนึ่ง
กับจำนวนที่สอง บวกกับผลคูณของจำนวนที่หนึ่งกับจำนวนที่สาม สมบัติเช่นนี้ เรียกว่า สมบัติการแจกแจง
หลังจากที่น้องๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติการคูณกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าเรามีวิธีการคูณ
ได้หลายวิธีแล้วแต่ความถนัดของเราการเรียนคณิตศาสตร์สามารถพลิกแพลงได้เสมอ
น้องๆที่สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์เข้ามาติดตามที่โรงเรียนกวดวิชาอุบบลราชธานี Ubon Acadamy ได้เลยค่ะ