Image

เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์ (หิ่งห้อย)

January 8, 2013

วันนี้จะพาน้องๆมารู้จักกับหิ่งห้อย กับแสงที่เกิดในตัวหิ่งห้ยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรน้องๆเคยสงสัยกันบ้างไหมค่ะ
วันนี้จะพาน้องๆไปไขข้อข้องใจ เกร็ดวิทยาศาสตร์กันค่ะไปเรียนรู้พร้อมๆกันได้เลย

ทำไมหิ่งห้อยจึงมีแสงสว่างในตัวเอง

>>หิ่งห้อยมีอวัยวะทำแสงด้านข้างของลำตัว เกือบทุกปล้องแสงของหิ่งห้อยนั้นเกิดจาก สารลูซิเฟอริน (Luciferin) ที่อยู่ในอวัยวะทำแสงกับออกซิเจนในอากาศ โดยมีสารอีกตัวหนึ่งคือลูซิเฟอเรส (Luciferase) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี และมีสารอดีโนซีนไตรฟอสเฟต เป็นตัวที่ทำให้พลังงานเกิดแสง
>> แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยจะเป็นแสงที่ปราศจากความร้อน ซึ่งเราสามารถจับดูได้ และปริมาณแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็นับว่าน้อยมาก เพียงหนึ่งในพันของแสงจากแสงเทียนไขธรรมดา
>> แสงของหิ่งห้อยจะมีลักษณะวับวาบ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะแสงสว่างจะขึ้นอยู่กับจังหวะการหายใจ จังหวะหายใจเข้าแสงจะติด และจังหวะหายใจออกแสงจะดับ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอด
>>หิ้งห้อยจะใช้แสงของมันในการล่อเพศตรงข้าม และสื่อสารซึ่งกันและกัน บางครั้งก็ใช้ล่อเหยื่อของมัน
>> แสงจากหิ่งห้อยสามารถใช้เป็นตะเกียง ให้แสงสว่างได้ เพราะในอดีตคนจีนโบราณ และคนบราซิลที่ยากจน
มักจะจับหิ่งห้อยใส่ในขวดแก้ว เพื่อใช้เป็นตะเกียง พบว่าหิ่งห้อยที่โตเต็มที่ประมาณ 6 ตัวสามารถให้แสงสว่าง
ที่เพียงพอเหมาะสำหรับการอ่านหนังสือ ในเวลากลางคืนได้
คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนก็นิยมใช้ตะเกียงหิ่งห้อยเช่นเดียวกัน

เป็นยังไงบ้างค่ะน้องๆ พอจะเข้าใจการเกิดแสงของหิ่งห้อยแล้วใช่ไหมค่ะ ว่าหิ่งห้อยกระพริบแสงโดยการเกิดกระบวณการทางเคมี ถือว่าเป็นวิทยาศาสตร์รอบตัวจริงๆเลยใช่ไหมล่ะค่ะ เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลากับสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา น้องที่กำลังเพลิดเพลินกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ง่ายๆ
มาติดตามกันต่อในวันต่อไป ในโรงเรียนกวดวิชา Ubon Academy นะค่ะ



Read More

Image
January 7, 2013

เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์ (หมากฝรั่ง)

Image
January 6, 2013

เกร็ดความรู้วิทยาศาสตร์ (ไข่ขาว)

Image
January 5, 2013

ประโยคภาษาอังกฤษ การโทรออก รับสาย