Image

ภาษาไทยวันละคำ

December 19, 2012

วิธีใช้สระ

>> คงรูป คือ เขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -ิ, -ี, -ึ, -ุ, -ิ , เ- , แ- , โ- , -อ , เ -ีย , เ -อ เช่น
ก + -า + ง = กาง
ด + – ิ + น = ดิน

>>  แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ เช่น
ด+ เ-ะ + ก = เด็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)
ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)

>>  ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น การลดรูปมี ๒ วิธีคือ
>>> ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ  เช่น
น + โ-ะ + ก = นก
อ + -อ + ร = อร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
>>> ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
ฉ + เ-อ + ย = เฉย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า
ค + – ั ว + ร = ควร (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว

>> เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่  -ื   ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ  เช่น
ถ +  -ื    = ถือ

>>ลดรูปและแปลงรูป เช่น
ล + เ-าะ + ก = ล็อก

* สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ
เป็นอย่างไรบ้างค่ะน้องๆ กับการเรียนภาษาไทยในวันนี้ กับสระภาษาไทยเห็นแล้วใช่ไหมค่ะว่าการเรียนภาษาไทยน่าเบื่ออย่างที่คิดเลย
น้องที่สนใจในหลักภาษาไทย เข้ามาติดตามกันได้เลยที่ UBON Academy ค่ะ



Read More

Image
December 8, 2012

คำเป็น คำตาย

Image
December 7, 2012

เรียนรู้หลักภาษา มาตราตัวสะกด